ครั้งที่ 6 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103
กิจกรรมวันนี้
วันนี้เรียนเรื่อง : การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ โดยมีใจความสำคัญที่หนูเข้าใจดังนี้
ทักษะของครูเเละทัศนคติ
ครูต้องมองเด็กทุกคนเป็นเด็กเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีความเเตกต่าไปจากเด็กคนอื่นก็ตาม ครูควรเอาใจใส่เด็กทุกคนเท่ากัน ไม่โอนเอียงใส่ใจใครมากกว่ากัน หากครูเอาใจใส่คนหนึ่งมากเกินไปจะทำให้เด็กคนอื่น ตั้งคำถามขึ้นมาว่าทำไมครูถึงรักเขา ครูต้องอยู่กับเขาตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้หากครูละเลยมองข้ามไปอาจทำให้เด็กคนนั้นไม่คุยกับครูอีกเลย เพราะคิดว่าครูไม่รักเขา
การเข้าใจภาวะปกติ
เด็กมักมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าเเตกต่างกัน ครูควรที่จะเรียนรูที่มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งเด็กปกติเเละเด็กพิเศษ ครูควรจำชื่อเด็กเเต่ละคนให้ได้เเละจำลักษณะเด่นของเด็กเเต่ละคนให้ได้ หากครูจำชื่อเขาได้ เด็กๆจะรักครูโดยไม่มีเงื่อนไข เพราะเด็กจะคิดว่าครูให้ความสำคัญกับเขา ครูรักเขานะ
การคัดเเยกเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
เเน่นอนว่าเเต่ละโรงเรียนอาจจะมีเด็กที่มีอาการเเฝงเข้ามา โดยที่ตอนเเรกเราอาจจะไม่รู้ว่าเด็กคนนั้นเป็นเด็กพิเศษเเต่พอเวลาผ่านไปเราจะรู้ได้เองจากการสังเกตพฤติกรรมต่างๆ เเละจากการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
ความพร้อมของเด็ก
จะสอนเด็กได้ต้องดูที่ความพร้อมของเด็ก อย่างเเรกครูควรดูที่วุฒิภาวะ เด็กเเต่ละคนมีเเรงจูงใจในการเรียนที่ต่างกัน มีความชอบของสิ่งต่างๆที่เเตกต่างกัน ครูควรใช้การสอนเเบบ Project Approach เพื่อให้เด็กได้ระดมความคิดกัน รวมทั้งครูต้องสร้างให้เด็กมีเเรงจูงใจที่มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด
การสอนโดยบังเอิญ
มักจะเกิดขึ้นจากความสงสัยของเด็ก ณ ขณะนั้น ครูจึงต้องสอนเด็กในสิ่งที่อยากรู้คำตอบ ครู้ต้องสนใจในคำถามเหล่านั้นที่เด็กสงสัยเเต่ต้องใช้เวลาไม่นานในการตอบคำถามเด็กเเต่ละคน ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็กเเละทำเรื่องเหล่านัั้นให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
อุปกรณืที่ดีหรือของเล่นที่ดีต้องไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว ควรมีวิธีการเล่นที่หลากหลาย เช่น เเป้งโด บล้อก โดมิโน ตัวต่อ
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่ชอบให้ใครมาเปลี่ยนเเปลงตารางในชีวิตประจำของเขา ครูต้องจัดตารางประจำวันให้เหมือนกันทุกอาทิตย์ของเเต่ละวัน เช่น วันจันทร์นี้เรียนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ วันจันทร์หน้าก็ต้องเรียนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ห้ามเปลี่ยนเเปลงตารางของเขา เพราะเขาจะได้เตรียมความพร้อมมาเรียน เเต่ถ้าครูไปปรับเปลี่ยนตารางประจำวันของเขา จะทำให้เด็กรู้สึกว่า เขาไม่ปลอดภัยเเละขาดกำลังใจในการเรียน
ทัศนคติของครู
- ครูต้องมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อเป้าหมาย เช่น เเผนการสอนที่ครูเตรียมมาสามารถมีการยืดหยุ่นได้ไม่จำเป็นต้องทำตามเเผนเป๊ะ
- ครูใจกว้างพอที่จะฟังคำเเนะนำจากบุคคลอาชีพอื่น เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้างเเต่ไม่จำเป็นต้องทำตามที่เขาเเนะนำทุกอย่าง ควรฟังหูไว้หู อาจนำมาใช้บ้างในบางคำเเนะนำที่ครูคิดว่าเหมาะสมกับเด็ก
- ครูต้องมีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
- การให้เเรงเสริมกับเด็ก ควรให้เเรงเสริมด้วยวาจา คำพูดเเต่ไม่ควรเกินพอดี การยืนหรือนั่งใกล้ๆเด็ก การยิ้มรับ การฟัง การให้ความช่วยเหลือ เเละร่วมกิจกรรมกับเด็ก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการให้เเรงเสริม คือ การสัมผัสทางกาย
- การลดหรือหยุดเเรงเสริม ควรหยุดทันทีที่เด็กเเสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจจะใช้วิธีการให้เด็กออกไปจากของเล่น (Time Out) เพื่อให้เด็กได้ทบทวนกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้น
*การสอนเเบบก้าวไปข้างหน้า คือ การเริ่มต้นจากขั้นเเรก หลังจากนั้นครูค่อยใให้การช่วยเหลือ
*การสอนเเบบย้อนมาจากข้างหลัง คือ ครูช่วยเหลือเด็กในขั้นเริ่มต้น เเละให้เด็กทำเองในขั้นสุดท้ายด้วยตนเอง เเต่ไม่ว่าครูจะสอนด้วยวิธีไหนสุดท้ายเเล้วผลของมัน เด็กจะทำได้ด้วยตัวเด็กเอง
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนบางคนตั้งใจเรียนบางคนก็คุยกัน ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมมาสอน สอนโดนเเตกรายละเอียด อธิบายใหเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยการยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น
บรรยากาศในการเรียน