ครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน 2558 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103
กิจกรรมวันนี้
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program)
เเผน IEP เป็นเเผนที่ไม่ได้จัดทำเพียงคนเดียว เเต่มีการร่วมมือกันระหว่าง ครู หมอ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้ปกครองร่วมกันจัดทำขึ้น โดยครูประจำชั้นเป็นผู้เขียนเเผน IEP ขึ้นเเล้วนำมาวิเคราะห์ประชุมกันว่าเหมาะสมหรือไม่มากน้อยเพียงใด ซึ่งเเผน IEP นี้ที่ครูประะจำชั้นเป็นผู้เขียนขึ้น เพราะ ครูเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก เห็นเหตุการณ์เเละพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็กมากที่สุด ครูเป็นผู้ที่ได้สัมผัสกับเด็กในทุกรายละเอียดครูจึงเป้นผู้ที่รู้รายละเอียดของเด็กคนนึงได้ดีที่สุด
การเขียนเเผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร
- ประเมินพัฒนาการของเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรเเลทำอะไรไม่ได้บ้าง
- ครูจึงสามารถเขียนเเผน IEP ได้
แผน IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กจำเป็นต้องรับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาว / ระยะสั้น
- ระบุวันเดือนปีที่ทำการสอนเเละคาดคะเนวันสิ้นสุดสิ้นสุดของเเผนการสอน IEPให้ชัดเจน
- วิธีประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- เด็กได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- เด็กได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเอง
- ได้รับการศึกษาเเละฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเเละเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
- ใช้เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนเเละเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก
- เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถเเละความต้องการของเด็ก
- สามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนเเปลงไป
- ตรวจสอบเเละประเมินผลได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถไดสูงสุดตามศักยภาพของเด็ก
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิดระหว่างบ้านกับทางโรงเรียน
ขั้นตอนการทำแผน IEP
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว / ระยะสั้น
- การรวบรวมข้อมูลทางการเเพทย์ การประเมินด้านต่าง ๆ บันทึกจากครูเเละผู้ปกครองที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว ควรกำหนดจุดประสงค์ให้กว้าง ๆ เเต่มีความชัดเจน เช่น น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้ น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่น ๆ ได้
- ระยะสั้น เป็นจุดมุ่งหมายที่ต่อยอดจากระยะยาว โดยต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมของเด็ก กำหนดชัดเจน ว่า >>> ใคร อะไร เมื่อไหร่/ที่ไหน ดีขนาดไหน <<<
ใคร = จะสอนใคร
อะไร = พฤติกรรมอะไร
เมื่อไหร่/ที่ไหน = เมื่อไหร่ ที่ไหนที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด
ดีขนาดไหน = พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
เช่น ใคร = อรุณ
อะไร = กระโดขาเดียว
เมื่อไหร่/ที่ไหน = กิจกรรมกลางเเจ้ง
ดีขนาดไหน = กระโดดไดขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 นาที
การประเมินผล
- ประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือ ย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินเเละเกณฑ์วัดผล
*** กิจกรรมท้ายคาบ >>> เขียนเเเผน IEP รายกลุ่ม ก่อนที่จะเขียนเป็นรายบุคคลเเล้วนำมาส่งวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ***
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ถึงเวลาเล่นก็เล่น ให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ เรียบร้อย พูดจาไพเราะ มีวิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อเเละมีบุคลิกเฉพาะตัวที่ทำให้นักศึกษาเกรงใจโดยที่อาจารย์ไม่ต้องดุ