E-Portfolio Subject to the Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood Semester 2/2557

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 8

                                        บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                        วันที่ 3 มีนาคม  2558 
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103


กิจกรรมวันนี้

"การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

  • ทักษะทางสังคม (ภาษา , สังคม )
เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อเเม่ สภาพเเวดล้อมไม่ได้ส่งผลต่อเด็กเเต่อยู่ที่ตัวเด็กมากกว่า ถ้าจะปรับควรปรับที่ตัวเด็ก

  • กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กพิเศษจะมองทางเดินเป็นเส้นตรง ตามทางเดิน หากมีอะไรไปขวางอยู่ เขาจะผลัก กระเเทกออกไป เขาไม่รู้หรอกว่าที่ทำไปนั้นจะทำให้เพื่อนเจ็บ เขารู้เพียงว่านั่นเป็นทางเดินของเขา เขาไม่รู้จักการเดินเลี่ยง เดินอ้อม

  • ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้จักวิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูควรเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ จดบันทึกและทำแผน IE 

  • การกระตุ้นการเลียนเเบบเเละการเอาอย่าง
ครูวางเเผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง โดยคำนึงถึงเด็กทุกคน เเบ่งเด็กเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 3-4คน เเละให้เด็กพิเศษเข้าไปเล่นร่วมกับเด็กปกติ ให้เด็กปกติทำหน้าที่เสมือนครู

  • ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
ครูอยู่ใกล้ๆเฝ้ามองเด็กอย่างสนใจ อย่าปล่อยทิ้ง เเต่ไม่ควรเข้าใกล้ ยิ้มพยักหน้ารับเวลาเด็กหันหน้ามาหาครู ไม่ชมหรือสนใจเด็กมากจนเกินไปเเละครูควรเอาอุปกรณ์มาเพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่นให้มากขึ้น เด็กจะได้เกิดทักษะทางสังคมจากการเล่นร่วมกัน

  • การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูควรพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน โดยการพูดชักนำเชิญชวนให้เด็กพิเศษมีความน่าสนใจในความคิดของเด็กปกติ

ปรัชญาห้องเรียนรวม

"เด็กทุกคนเท่าเทียมกัน"

จากนั้นอาจารย์ได้ให้จับคู่กันทำกิจกรรม โดยออกไปเลือกสีคนละเเท่งเเล้วให้คนนึงเป็นคนลากเส้นตามเสียงเพลงเเละอารมณ์เพลง ส่วนอีกคนทำจุดลงบนวงกลมที่อีกคนได้ลากเส้นทำไปเรื่อยๆจนเพลงจะหยุด จากนั้นให้ช่วยกันมองภาพที่ออกมาว่าสามารถเเต่งเติมเป็นรูปอะไรได้บ้างเเล้วระบายลงไป กิจกรรมนี้สร้างความผ่อนคลายเเละสนุกสนานเป็นอย่างมาก เเละนี่คือ ผลงานของกลุ่มดิฉัน



รวมผลงานของเพื่อนๆ





ครั้งที่ 7

                                        บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                        วันที่ 24  กุมภาพันธ์  2558  เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

สัปดาห์สอบกลางภาค



ครั้งที่ 6

                                        บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                        วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

วันนี้เรียนเรื่อง : การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ โดยมีใจความสำคัญที่หนูเข้าใจดังนี้

ทักษะของครูเเละทัศนคติ
  ครูต้องมองเด็กทุกคนเป็นเด็กเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีความเเตกต่าไปจากเด็กคนอื่นก็ตาม ครูควรเอาใจใส่เด็กทุกคนเท่ากัน ไม่โอนเอียงใส่ใจใครมากกว่ากัน หากครูเอาใจใส่คนหนึ่งมากเกินไปจะทำให้เด็กคนอื่น ตั้งคำถามขึ้นมาว่าทำไมครูถึงรักเขา ครูต้องอยู่กับเขาตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้หากครูละเลยมองข้ามไปอาจทำให้เด็กคนนั้นไม่คุยกับครูอีกเลย เพราะคิดว่าครูไม่รักเขา

การเข้าใจภาวะปกติ
  เด็กมักมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าเเตกต่างกัน ครูควรที่จะเรียนรูที่มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งเด็กปกติเเละเด็กพิเศษ ครูควรจำชื่อเด็กเเต่ละคนให้ได้เเละจำลักษณะเด่นของเด็กเเต่ละคนให้ได้ หากครูจำชื่อเขาได้ เด็กๆจะรักครูโดยไม่มีเงื่อนไข เพราะเด็กจะคิดว่าครูให้ความสำคัญกับเขา ครูรักเขานะ

การคัดเเยกเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
  เเน่นอนว่าเเต่ละโรงเรียนอาจจะมีเด็กที่มีอาการเเฝงเข้ามา โดยที่ตอนเเรกเราอาจจะไม่รู้ว่าเด็กคนนั้นเป็นเด็กพิเศษเเต่พอเวลาผ่านไปเราจะรู้ได้เองจากการสังเกตพฤติกรรมต่างๆ เเละจากการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก

ความพร้อมของเด็ก
  จะสอนเด็กได้ต้องดูที่ความพร้อมของเด็ก อย่างเเรกครูควรดูที่วุฒิภาวะ เด็กเเต่ละคนมีเเรงจูงใจในการเรียนที่ต่างกัน มีความชอบของสิ่งต่างๆที่เเตกต่างกัน ครูควรใช้การสอนเเบบ Project Approach เพื่อให้เด็กได้ระดมความคิดกัน รวมทั้งครูต้องสร้างให้เด็กมีเเรงจูงใจที่มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด

การสอนโดยบังเอิญ
  มักจะเกิดขึ้นจากความสงสัยของเด็ก ณ ขณะนั้น ครูจึงต้องสอนเด็กในสิ่งที่อยากรู้คำตอบ ครู้ต้องสนใจในคำถามเหล่านั้นที่เด็กสงสัยเเต่ต้องใช้เวลาไม่นานในการตอบคำถามเด็กเเต่ละคน ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็กเเละทำเรื่องเหล่านัั้นให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
  อุปกรณืที่ดีหรือของเล่นที่ดีต้องไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว ควรมีวิธีการเล่นที่หลากหลาย เช่น เเป้งโด บล้อก โดมิโน ตัวต่อ

ตารางประจำวัน
  เด็กพิเศษไม่ชอบให้ใครมาเปลี่ยนเเปลงตารางในชีวิตประจำของเขา  ครูต้องจัดตารางประจำวันให้เหมือนกันทุกอาทิตย์ของเเต่ละวัน เช่น วันจันทร์นี้เรียนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ วันจันทร์หน้าก็ต้องเรียนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ห้ามเปลี่ยนเเปลงตารางของเขา เพราะเขาจะได้เตรียมความพร้อมมาเรียน เเต่ถ้าครูไปปรับเปลี่ยนตารางประจำวันของเขา จะทำให้เด็กรู้สึกว่า เขาไม่ปลอดภัยเเละขาดกำลังใจในการเรียน

ทัศนคติของครู

  • ครูต้องมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อเป้าหมาย เช่น เเผนการสอนที่ครูเตรียมมาสามารถมีการยืดหยุ่นได้ไม่จำเป็นต้องทำตามเเผนเป๊ะ 
  • ครูใจกว้างพอที่จะฟังคำเเนะนำจากบุคคลอาชีพอื่น เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้างเเต่ไม่จำเป็นต้องทำตามที่เขาเเนะนำทุกอย่าง ควรฟังหูไว้หู อาจนำมาใช้บ้างในบางคำเเนะนำที่ครูคิดว่าเหมาะสมกับเด็ก
  • ครูต้องมีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
  • การให้เเรงเสริมกับเด็ก ควรให้เเรงเสริมด้วยวาจา คำพูดเเต่ไม่ควรเกินพอดี การยืนหรือนั่งใกล้ๆเด็ก การยิ้มรับ การฟัง การให้ความช่วยเหลือ เเละร่วมกิจกรรมกับเด็ก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการให้เเรงเสริม คือ การสัมผัสทางกาย 
  • การลดหรือหยุดเเรงเสริม ควรหยุดทันทีที่เด็กเเสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจจะใช้วิธีการให้เด็กออกไปจากของเล่น (Time Out) เพื่อให้เด็กได้ทบทวนกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้น
*การสอนเเบบก้าวไปข้างหน้า  คือ การเริ่มต้นจากขั้นเเรก หลังจากนั้นครูค่อยใให้การช่วยเหลือ

*การสอนเเบบย้อนมาจากข้างหลัง  คือ  ครูช่วยเหลือเด็กในขั้นเริ่มต้น เเละให้เด็กทำเองในขั้นสุดท้ายด้วยตนเอง เเต่ไม่ว่าครูจะสอนด้วยวิธีไหนสุดท้ายเเล้วผลของมัน เด็กจะทำได้ด้วยตัวเด็กเอง

ประเมินตนเอง  : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา 

ประเมินเพื่อน   : เพื่อนบางคนตั้งใจเรียนบางคนก็คุยกัน ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์  : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมมาสอน สอนโดนเเตกรายละเอียด อธิบายใหเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยการยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น


บรรยากาศในการเรียน




ครั้งที่ 5

                                        บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


                        วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103


กิจกรรมวันนี้

วันนี้พวกเราได้วางเเผนกันเซอร์ไพรส์อาจารย์ ให้อาจารย์เข้ามารอพวกเรานานมากจนอาจารย์นึกน้อยใจที่พวกเราไม่เห็นความสำคัญของอาจารย์ เเต่สุดท้ายพวกเราก็มาเรียน มาโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อการนี้

ภาพบรรยากาศอันเเสนอบอุ่น




หลังจากที่ภารกิจเซอร์ไพรส์อาจารย์สำเร็จลุล่วงไปเเล้ว อาจารย์ได้เเจกถุงมือสีขาวให้คนละข้างเเล้วทำข้อตกลงกับนักศึกษาว่า "ให้สวมถุงมือในมือข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดมือข้างที่ใส่ถุงมือไว้โดยห้ามถอดถุงมือออกมา เพื่อให้เราได้รู้ซึ้งถึงการสังเกตจากสิ่งที่อยู่กับเรามาตั้งเเต่เกิด

...เเละนี่คือมือของหนู


     ครูปฐมวัยเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เพราะตลอดเวลาที่เด็กมาโรงเรียนเด็กเเต่ละคนจะอยู่ในความดูเเลของครูเเละพี่เลี้ยงเด็ก ดังนั้นพฤติกรรมที่ต่างกันทำให้ครูต้องมีการจดบันทึกข้อมูลรวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่เด็กเเสดงออกมา ครูหรือพี่เลี้ยงจำเป็นต้องมีสมุดพกเล่มเล็กๆไว้สำหรับบันทึกข้อความสั้นๆเพื่อกันลืม

ประเมินตนเอง  :  เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจวาดภาพมือของตัวเองให้ออกมาเหมือนจริงมากที่สุด

ประเมินเพื่อน   :  เพื่อนๆเเต่ละคนมีความสุขที่ได้ทำให้อาจารย์มีความสุข เเม้จะเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆเเต่เพื่อนๆรวมถึงหนูเองก็ตั้งใจทำให้อาจารย์นะคะ

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีการปรับเเผนในการสอนสิ่งที่เตรียมมา เพื่อให้นักศึกษามีความสุขอย่างเต็มที่ในครั้งนี้อาจารย์ยิ้ม ด้วยรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความสุขที่เเท้จริง อาจารย์น่ารักกับพวกหนูเสมอ มีความเป็นกันเองทำให้นักศึกษาอยู่ใกล้เเล้วผ่อนคลายไม่ตึงเครียด