E-Portfolio Subject to the Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood Semester 2/2557

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 4

                                        บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                        วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103


กิจกรรมวันนี้

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ต้องไปเป็นวิทยากร อาจารย์ได้มอบหมายให้เคลียร์บล้อกให้เรียบร้อย



วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 3

                                        บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                        วันที่ 27 มกราคม 2558  ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น. กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

รูปแบบการจัดการศึกษา

  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Specail Education)
  • การศึกษาเเบบเรียนรวม (Integrated Education)
  • การศึกษาเเบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้เเละพัฒนาได้ ถ้าเกิดเขาได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาเเบบเรียนร่วม

   การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการได้เข้าเรียนรู้สังคมและสิ่งแวดล้อมของชั้นเรียนเด็กปกติ เพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ซึ่งจะอยู่ในความดูแลของครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา ( Integration )

   การจัดให้เด็กพิเศษได้เข้าไปเรียนร่วมกันกับเด็กปกติในบางเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน โดยส่วนใหญ่เเล้วจะให้เด็กพิเศษร่วมในกิจกรรมการเคลื่อนไหวเเละจังหวะ เเละกิจกรรมศิลปะ เพราะเชื่อว่าดนตรีเเละศิลปะจะช่วยให้เด็กพิเศษมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งการเรียนร่วมบางเวลานี้จะเป็นเด็กที่มีความพิการในระดับปานกลางถึงมาก จึงไม่อาจจะเรียนร่วมกับเด็กปกติได้เต็มเวลาต้องมีการจัดทำแผนการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลให้กับเด็ก

การเรียนร่วมเต็มเวลา ( Mainstreaming )

   การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลา คือ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ ซึ่งการเรียนร่วมเต็มเวลานี้เป็นเด็กที่มีความพิการในระดับน้อย





ความหมายของการศึกษาเเบบเรียนรวม ( Inclusive Education )
   การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล



  "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

   การศึกษาเเบบเรียนรวม เป็นการศึกษาของทุกคน ที่เด็กทุกคนควรได้รับตั้งเเต่ขั้นต้น โดยเด็กแต่ละคนมีความต้องการที่ต่างกัน ครูควรคำนึงว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันเเละจะต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • ทุกคนยอมรับรับว่า ผู้พิการ  อยู่ในสังงคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติโดยไม่มีการแบ่งเเยก
  • เด็กเป็นผู้เลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เป็นการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสมและดำเนินการเรียนในลักษณะรวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน


ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • สอนได้
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

 บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
  • ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก  หมายถึง  การตัดสินใจโดยดูจากอาการ หรือสัญญาณบางอย่างที่เด็กแสดงออกมา
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก  เพราะจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี 
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าบางอย่างของเด็กผิดปกติ  ครูควรช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยเด็กให้เกิดการพัฒนา เพราะพ่อแม่ของเด็กพิเศษจะทราบดีอยู่แล้วลูกของเขามีปัญหา ซึ่งเขาไม่ต้องการให้ครูมาย้ำเตือนเขา
ครูทำอะไรบ้าง   
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลาการที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
ไม่มีใครสามารถสังเกตเด็กได้ดีกว่าครู เพราะครูคือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ครูจะเห็นพฤติกรรมต่างๆที่เด็กเเสดงออกมาเเต่ละ ซึงต่างจากเเพทย์ นักจิตวิทยา ที่มุ่งความสนใจไปที่ปัญหา

ตัวอย่างเเบบสังเกต



 



















การตรวจสอบ

   สามารถทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งจะเป็นเเนวทางที่จะทำให้ครูเเละพ่อเเม่เข้าใจในตัวเด็กมากยิ่งขึ้นเเละทำให้รู้ว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกเเละตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  • การนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • เกิดขึ้นกี่ครั้งในเเต่ละวัน กี่ครั้งในเเต่่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  • สามารถให้รายละเอียดได้ดีมาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ หรือสมุดพกเล่มเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กเเต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องระมัดระวังในการตัดสินใจ
  • พฤติกรรมขิงเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

ภาพวาดดอกชบา


      การวาดรูปดอกชบาในวันนี้ใจความสำคัญที่ต้องการสื่อออกมา คือ เราเป็นครูควรบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กให้ละเอียด มีการสังเกตที่ดีเยี่ยมจึงจะสามารถเป็นครูที่ดีได้....

ประเมินตนเอง  :  วันนี้เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนก่อนเวลา ตั้งใจเรียน มีคุยกับเพื่อนข้างๆบ้างบางครั้ง

ประเมินเพื่อน   :  วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนมาก ให้ความร่วมมือในการเรียน จนอาจารย์อดเเปลกใจไม่ได้

ประเมินอาจารย์  :  วันนี้อาจารย์เตรียมตัวมาสอนดีมาก ในทุกๆครั้งๆที่เข้าสอน  อาจารย์จะมีสีหน้าที่สดใส บ่งบอกถึงความสุขในดการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษา